ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ.2561-2565)

วิสัยทัศน์

        “การคมนาคมสะดวก ประชาชนมีคุณภาพ ถิ่นอุตสาหกรรมการเกษตร เขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศ”

 

พันธกิจ

          1.  การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ พัฒนาและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

          2.  พัฒนาศักยภาพคน คุณภาพชีวิต ระบบการศึกษา ส่งเสริมศิลปะวัฒนาธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมการจัดระเบียบสังคม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ สนับสนุนด้านการสาธารณสุข การจัดระบบการรักษาความเรียบ ร้อยในจังหวัด

          3.  พัฒนาแหล่งน้ำ ระบบชลประทาน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          4.  พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นรองรับการเป็นแหล่งพืชพลังงานทดแทน

          5.  พัฒนา ฟื้นฟูการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่งเสริมเครือข่ายภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

         6.  พัฒนาตลาดการค้าตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และตลาดโรงเกลือ ให้มีความสะดวก ปลอดภัยยิ่งขึ้นสนับสนุนการจัดระบบโลจิสติกส์ สนับสนุนการค้าให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน

         7.  พัฒนาประสิทธิภาพการเมือง/ การบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

จุดมั่งหมายการพัฒนา  ตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา  5  ด้าน ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1. การคมนาคมสะดวก

เป้าประสงค์    การพัฒนาด้านการคมนาคม

กลยุทธ์

                 1. การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาโครงข่ายด้านโลจิสติกส์

                 2. ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ถนน สะพาน/ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นระเบียบเรียบ ร้อย สวยงาม

                 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดระบบผังเมืองรวม

                 4. ส่งเสริมและพัฒนาด้านอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยและวินัยการจราจร เพื่อรองรับการขยายตัวของระบบโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์ที่ 2. ประชาชนมีคุณภาพ

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต

กลยุทธ์

                 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านการสาธารณสุข สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                 2. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

                 3. สนับสนุนการดำเนินงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

                 4. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม การพัฒนาสังคม การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สตรี เด็ก เยาวชน ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                 5. การจัดให้มีระบบรักษาความเรียบร้อยในจังหวัด

                 6. การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและภูมิคุ้มกันของหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

 

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้

กลยุทธ์

                1. พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน มีรายได้มั่นคง

                2. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนโครางการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

                3. ส่งเสริมการดำรงชีวิตของประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการบริการพื้นฐาน

กลยุทธ์

                1. จัดหาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค - บริโภค การปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว สนามกีฬา สถานที่พักผ่อน สวนสาธารณะ

                2. ส่งเสริมให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่สะดวกและเพียงพอ

 

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการกีฬา

กลยุทธ์

                 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย เพื่อยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                 2. ส่งเสริมการเรียนการสอน พัฒนาระบบการศึกษา ส่งเสริมและให้ความรู้ด้านภาษา ต่างประเทศ  พัฒนาบุคลากรการศึกษา ขยายโอกาสทางการศึกษา เสริมสร้างการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                 3. ส่งเสริมทำนุบำรุง ฟื้นฟูศาสนาและวัฒนธรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โบราณ สถานที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด

                 4. ส่งเสริมสนับสนุนด้านการกีฬาและนันทนาการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬาให้เพียงพอแก่เด็กและเยาวชน

                 5. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อบ้านในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3  ถิ่นอุตสาหกรรมการเกษตร

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการเกษตร

กลยุทธ์

                 1. ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รองรับการเป็นแหล่งพืชพลังงานทดแทน

                 2. ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรการแปรรูป การพัฒนาคุณภาพการเกษตรปลอด สารพิษ เกษตรทฤษฏีใหม่ และส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร

                 3. ส่งเสริมให้มีตลาดกลางในการจำหน่ายสินค้าการเกษตร สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

 

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์

                1. พัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำธรรมชาติ/แหล่งน้ำชลประทาน ให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี

                2. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสียรวมทั้งการจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม

                3. ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกป่า อนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม บริหารจัด การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4  เขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและตลาดการค้าชายแดน

กลยุทธ์

                1. การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนให้เครือข่ายภาคประชา ชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว

                2. พัฒนา ฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้เอื้อต่อการเป็นเหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นศูนย์กลางทางด้านการท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน

                3. พัฒนาตลาดการค้าตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาและตลาดโรงเกลือ ให้มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว

                4. สนับสนุนการจัดระบบโลจิสติกส์ เพื่อการขนส่งและกระจายสินค้าสะดวก รวด เร็ว เป็นประตูสู่ภูมิภาคอินโดจีน

                5. สนับสนุนการค้าให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการ

เป้าประสงค์  การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

กลยุทธ์

                 1. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ  เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน ควบคุมกับดูแลเพื่อผลสัมฤทธิ์ของงานบริหารและควบคุมด้านงบประมาณให้
มีประสิทธิภาพ

                 2. ส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากร ปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติราชการ เครื่องมือ เครื่องใช้ให้มีความทันสมัย นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจ

                 3. รณรงค์ให้เยาวชนและประชาชน ตื่นตัวถึงความสามารถของระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

Visitors: 39,176