แผนยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์  "ประเทศมีความมั่นคง  มั่งคั่ง  ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

    ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์และทำให้ประะเทศไทยพัฒนาไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์นั้น จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหรดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะยาว และกำหนดแนวทางการพัฒนาของทุกภาคส่วนให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น
จึงจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว เพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลาอย่างต่อเนื่องและมีการบูรณาการ และสร้างความเข้าใจถึงอนาคตของประเทศไทยร่วมกัน และเกิดการรวมพลังของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งประชาชน เอกชนประชาสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อการสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลประดยชน์แห่งชาติและบรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" หรือคติพจน์ประจำชาาติ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในกานแข่งขัน มีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปี ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง

    (1) เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตรอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    (2) ปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง ขจัดคอร์รัปชั่น สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

    (3) การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล

    (4) การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ และรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่

    (5) การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกำลังป้องกันประเทศ การรักษาควาามสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

    (6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    (7) การปรับปรุงกระบวนการทำงานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวระนาบมากขึ้น

 

2. ยุทธ์ศาสตร์ที่ 2  ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

    (1) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าการลงทุน พัฒนาสู่ชาติการค้า

    (2) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ เสริมสร้างฐานการผลิตเข้มแข็งยั่งยืน และส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยสู่เกษตรยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    (3) การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาทักษะ ผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนา SMEs สู่สากล

    (4) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน และพัฒนาระบบเมืองศุนย์กลางความเจริญ

    (5) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่ง ความมั่นคงและพลังงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทส  และการวิจัย และพัฒนา

    (6) การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก สร้างความเป็นหุ้นส่วน การพัฒนากับนานาประเทศส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานของการประกอบธุรกิจ ฯลฯ

 

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

     (1) พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

     (2) การยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง

     (3) ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์

     (4) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี

     (5) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย

 

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

     (1) สร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

     (2) พัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ

     (3) มีสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตในสังคมสูงวัย

     (4) สร้างความเข็มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน

     (5) พัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา

 5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     (1) จัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ

     (2) วางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธฺภาพทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณการ

     (3) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     (4) การพัฒนาเมืองอุตสหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     (5) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการเปลื่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

     (6) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลัง เพื่อสิ่งแวดล้อม

 

6. ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

     (1) การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่อยงาน ภาครัฐ ให้มีขนานที่เหมาะสม

     (2) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ

     (3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

     (4) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

     (5) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ

     (6) ให้ทันสมัย เป็นธรรมและเป็นสากล

     (7) พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ

     (8) ปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ

 

Visitors: 38,421