ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ.2566-2570)

     ิยตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว

ตัวชี้วัดที่ ๑     ร้อยละของรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระแก้ว เพิ่มขึ้น (ร้อยละ ๑)

ตัวชี้วัดที่ ๒     อายุค่าเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีของประชาชนในจังหวัดสระแก้วเพิ่มขึ้นต่อปี (๐.๒ ปี)

ตัวชี้วัดที่ ๓     ร้อยละของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๕)

ตัวชี้วัดที่ ๔     ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๕)

ตัวชี้วัดที่ ๕     ปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ในแต่ละปี (ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.)

ตัวชี้วัดที่ ๖     ร้อยละของรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๕)

ตัวชี้วัดที่ ๗     จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแต่ละปี  (จำนวน ๒ แห่ง)

ตัวชี้วัดที่ ๘     ร้อยละของมูลค่าการค้าชายแดนที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๓)

ตัวชี้วัดที่ ๙     ร้อยละของโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๓)

ตัวชี้วัดที่ ๑๐   จำนวนการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (จำนวน ๒ เรื่องจาก ๙ เรื่อง)

ตัวชี้วัดที่ ๑๑   จำนวนครั้งในการพัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงจากภัยคุกคามต่างๆ (๒ ครั้ง)

ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดสระแก้ว

ประเด็นการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว (ประเด็นยุทธศาสตร์)

ประเด็นการพัฒนาที่ ๑เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตสำหรับคนทุกช่วงวัยในทุกด้านความต้องการของชีวิตเพื่อสุขภาวะที่ดีรวมทั้งรายได้ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ : ๑. เป็นเมืองแห่งความสุข ประชาชนเป็นคนดี มีความรู้ มีสุขภาพดี รายได้ดี และสิ่งแวดล้อมดี
                       ๒. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนเป็นวิถีชีวิตปกติ Way of Life

                       ๓. ประชาชนได้รับการบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ และเกิดความพึงพอใจในการรับบริการ

เป้าหมายและตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดที่ ๑ ร้อยละของรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระแก้ว เพิ่มขึ้น (ร้อยละ ๑)

                                      ตัวชี้วัดที่ ๒ อายุค่าเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีของประชาชนในจังหวัดสระแก้วเพิ่มขึ้นต่อปี (๐.๒ ปี)

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์) :
                      ๑. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และ
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                      ๒. ส่งเสริมการดำรงชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนเป็นวิถี Way of Life        

                      ๓. ส่งเสริมและพัฒนาโครงการตามแนวพระราชดำริ (สืบสาน รักษา ต่อยอด)
                      ๔. สร้างเสริมสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ดีในทุกช่วงวัย
                      ๕. พัฒนาอาชีพและยกระดับผลิตภัณฑ์
                      ๖. ยกระดับมาตรฐานการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ
                      ๗. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการบริหารและให้บริการประชาชน

หมายเหตุ  โครงสร้างพื้นฐานหมายรวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะมูลฝอยสุขภาวะ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต                             ทางปัญญา และทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐) ซึ่งกีฬาและนันทนาการน่าจะเป็น                           กิจกรรมและพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสุขภาวะผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระแก้ว จะครอบคลุมรายได้ของประชาชนในจังหวัดทั้งสาขา                                   การเกษตร สาขาการผลิตอุตสาหกรรม สาขาการค้าส่ง-ค้าปลีก และสาขาอื่นๆ

ประเด็นการพัฒนาที่ ๒ พัฒนาทักษะของเกษตรกร ปัจจัยการผลิต ศูนย์รวบรวม และการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานและเป็นเอกลักษณ์                                              ของจังหวัด เพื่อการยกระดับสินค้าเกษตรของจังหวัด
เป้าประสงค์ :

                 ๑. เพิ่มคุณภาพและผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่
                 ๒. บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
                 ๓. มีสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
                 ๔. มีการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าทางการเกษตรอย่างเป็นระบบ

เป้าหมายและตัวชี้วัด :  

                 ตัวชี้วัดที่ ๑  ร้อยละของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๕)
                 ตัวชี้วัดที่ ๒ ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๕)

                  ตัวชี้วัดที่ ๓ ปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ในแต่ละปี (ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.)

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์) :
                 ๑. บริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งในเขตชลประทานและนอกชลประทาน

                 ๒. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพพัฒนาสินค้าเกษตรและสมุนไพร

                 ๓. พัฒนาเกษตรและสถาบันเกษตรให้มีทักษะ องค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรและการเป็นผู้ประกอบการ

                 ๔. ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืน
                 ๕. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในการผลิต พัฒนาสินค้าเกษตรและสมุนไพร
                 ๖. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต
                 ๗. ส่งเสริมการแปรรูปหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
                 ๘. พัฒนาและยกระดับสินค้าเกษตรและสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน
                 ๙. เสริมสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์สินค้าการเกษตรและสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศ

ประเด็นการพัฒนาที่ ๓ ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชื่อมโยงอารยธรรมโบราณ เพิ่มขีดความสามารถสู่การ

                                        ท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขชาติวิถี

เป้าประสงค์ :   ๑. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตามรอยประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงอารยธรรมโบราณ สืบสานวัฒนธรรมชุมชน

                         ๒. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย สร้างความมั่นใจและประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดี

                         ๓. เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงเกษตร เชิงกีฬา และ  วิถีชุมชน

                         ๔. มีการจัดกิจกรรมพิเศษหรืองานมหกรรม เพื่อส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวตลอดปี

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์) :   ๑. พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการด้านการท่องเที่ยวให้เพียงพอและได้มาตรฐานปลอดภัย

                                                     ๒. ส่งเสริมเครือข่ายภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยวและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทั้งใน

                                                          และต่างประเทศ

                                                     ๓. ส่งเสริมพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่สมาชิกชุมชน บุคลากรด้านการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการการท่องเที่ยว  

                                                     ๔. พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวโดยเข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพตามมาตรฐานที่กรมการท่องเที่ยวกำหนด

                                                     ๕. พัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกในการท่องเที่ยว อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

                                                          เชิงเกษตร เชิงกีฬา และวิถีชุมชน

                                                     ๖. จัดกิจกรรมพิเศษหรืองานมหกรรมในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด อาทิ มหกรรมกีฬาเสริมสุขภาพ

                                                     ๗. พัฒนาภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ตามกลุ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว

                                                     ๘. พัฒนาแผนการตลาดเชิงรุก ผ่านสื่อดิจิทัล

                                                     ๙. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด :     

                ตัวชี้วัดที่ ๑. ร้อยละของรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๕)

                ตัวชี้วัดที่ ๒. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแต่ละปี  (จำนวน ๒ แห่ง)

 

หมายเหตุ  ชุมชนสุขชาติวิถี คือ วิถีแห่งความสุขของคนในชุมชน

ประเด็นการพัฒนาที่ ๔ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงอินโดจีน

เป้าประสงค์ :  ๑. การประกอบกิจการ การค้า การค้าชายแดน และการลงทุนในจังหวัดสระแก้วมีบรรยากาศที่ดี และเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงอินโดจีน

                        ๒. ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสระแก้วเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์) :  ๑. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการคมนาคมและการขนส่ง เชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน

                                                    ๒. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการค้า การค้าชายแดน การลงทุน และเชิญชวนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนมาดำเนิน                                                           กิจการในจังหวัดสระแก้ว

                                                    ๓. ยกระดับการให้บริการพิธีศุลกากรและพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าชายแดน

                                                    ๔. พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผังเมือง การค้า การลงทุน แรงงาน สาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม

                                                         ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ  (One Stop service – OSS)

                                                    ๕. พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาฝีมือแรงงานของแรงงานท้องถิ่นและต่างด้าวให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน 

                                                         รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าว

                                                    ๖. เตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต/ การประกอบอาชีพ /การอยู่อาศัย /การพัฒนาคุณภาพชีวิต

                                                         ที่จะเกิดในเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว

                                                    ๗. ส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมสระแก้วให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด :  ตัวชี้วัดที่ ๑. ร้อยละของมูลค่าการค้าชายแดนที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๓)

                 ตัวชี้วัดที่ ๒. ร้อยละของโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เพิ่มขึ้นต่อปี (ร้อยละ ๓)

หมายเหตุ   อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ รูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่การลดใช้ทรัพยากรและพลังงาน หรือการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่า และลดการปลดปล่อยของเสียให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยมีการดำเนินงานภายใต้หลักการความร่วมมือพึ่งพากันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น และชุมชน เพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งครอบคลุม ๕ มิติ ได้แก่ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม  

สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ

                 คุณลักษณะของโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ๕ ประการ

                                                1. มีการปล่อยของเสียเป็นศูนย์ (Zero Emission) หรือมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุด

                                                2. มีการใช้วัตถุดิบและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

                                                3. มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้มาตรฐาน

                                                4. มีกิจกรรมการผลิตและกิจกรรมสนับสนุนการผลิตที่ดี

                                                5. มีการเกื้อกูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือสังคมโดยรอบ

ประเด็นการพัฒนาที่ ๕  เสริมสร้างความมั่นคงเพื่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดน

เป้าประสงค์ :   ๑. มีความมั่นคงปลอดภัยและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดน

                         ๒. มีระบบฐานข้อมูลด้านความมั่นคง

                         ๓. มีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

                         ๔. คนและชุมชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์) :    ๑. เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามในพื้นที่จังหวัดชายแดน

                                                       ๒. เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านความมั่นคงให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์  สามารถใช้งานได้                                                                    ทันทีและเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ

                                                       ๓. เสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในระดับท้องถิ่นกับประเทศเพื่อนบ้าน (จังหวัด, ฝ่ายทหาร, ฝ่าย                                                                        ปกครอง, ฝายพลเรือน)

                                                       ๔. เสริมสร้างศักยภาพคนและชุมชนให้มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง

                                                       ๕. สร้างตระหนักรู้ สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา สร้างทักษะ                                                                        วิชาชีพในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและภัยคุกคามให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดน

ตัวชี้วัด :  ตัวชี้วัดที่ ๑. จำนวนการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (จำนวน ๒ เรื่องจาก ๙ เรื่อง)

                ตัวชี้วัดที่ ๒. จำนวนครั้งในการพัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงจากภัยคุกคามต่างๆ(๒ ครั้ง)

หมายเหตุ   ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ๙ เรื่อง ได้แก่ 

                         ๑) ความแตกแยกทางความคิดของคนในสังคม 

                         ๒) ความไม่เชื่อมั่นต่อระบบและสถาบันการเมือง 

                         ๓) การขาดการสมดุลของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

                         ๔) ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและโรคระบาด 

                         ๕) ความมั่นคงในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

                         ๖) การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ 

                         ๗) แรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง 

                         ๘) ยาเสพติด 

                         ๙) ความยากจน

Visitors: 39,179